เคล็ดลับการดูแลเล็บให้สวยงาม

เล็บสุขภาพดี ระเรื่อแดงอ่อนๆ แม้ไม่ทาเล็บเลย ก็ดูน่ารัก มาดูเคล็ดลับของเล็บสุขภาพดี เริ่มจากอาหารบำรุงเล็บไปจนถึงการดูแลประจำวัน

แต่ ละอาทิตย์ เล็บจะยาวขึ้นประมาณ 0.5 มม. แต่อาจจะยาวขึ้นเพียง 0.05 มม. หรือยาวเร็วขึ้น 2-3 เท่าตัว ตกอาทิตย์ 1.2 มม. ขึ้นอยู่กับอาหารที่รับประทาน สภาพอุณหภูมิ และสุขภาพโดยรวม เล็บจะหนา แข็งแรง ไม่เประง่าย ส่วนหนึ่งอยู่ที่สุขภาพและอาหาร แต่เล็บจะดูระเรื่ออ่อนหรือขาวซีด ขึ้นอยู่กับระบบหมุนเวียนโลหิตใต้เล็บ

เน้น รับประทานอาหารที่อุดมด้วยแคลเซียม เช่น ไข่หอยนางรม เนื้อแดง นม เต้าหู โยเกิร์ต ถั่วแดง หน่อไม่ฝรั่ง ผักขม เสริมด้วยการรับประทานปลาทะเลที่อุดมด้วยกรดไขมันโอเมก้า-6 จำพวกงา จากการวิจัยพบว่ากรดไขมันโอเมก้าทั้งสองชนิดเมื่อทำงานรวมกัน จะช่วยให้ระบบหมุนเวียนโลหิตทั่วร่างรวมทั้งที่ปลายมือและเท้ามีความคล่อง ตัวขึ้น ช่วยให้ปลายมือและเท้าได้รับสารอาหารและออกซิเจนครบถ้วนอย่างเพียงพอ

การ รับประทานผักที่มีคุณสมบัติต้านการติดเชื้ออย่างกระเทียม หอมเล็ก ต้นหอม หอมหัวใหญ่ เชื่อว่าจะช่วยให้ร่างกายมีภูมิต้านทานการติดเชื้อตามเล็บเพิ่มขึ้น แต่การรับประทานวุ้นเจลาติน คงไม่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของเล็บอย่างที่เคยเชื่อกัน

เนื่อง จากเล็บมีน้ำเป็นองค์ประกอบ 16 เปอร์เซ็นต์เมื่อใดที่ระดับน้ำในเล็บลดต่ำกว่านี้ เล็บจะมีอาการเปราะฉีกขาดหรือลอกง่าย การดื่มน้ำและรับประทานอาหารที่มีน้ำเป็นองค์ประกอบสูงอย่าง พริกหวาน แตงโม แตงกวา สตรอว์เบอร์รี่ ส้ม หรือขึ้นฉ่าย จะช่วยให้รักษาระดับสมดุลของน้ำในอวัยวะทั่วร่างกาย อย่างพริกหวานเม็ดโตๆ ขนาดใหญ่สุด 1 เม็ดอาจมีน้ำอยู่ถึง 250 มล. เทียบเท่ากับน้ำแก้วเล็ก 1 แก้ว ทั้งยังอุดมด้วยวิตามินซีสูงกว่าปริมาณขั้นต่ำที่แนะนำให้รับประทานต่อวัน ถึง 9 เท่า

เล็บเหลือง
ผู้หญิงส่วนใหญ่ประสบกับปัญหา เล็บเหลืองเนื่องจากยาทาเล็บจะซึมลงไปในผิวเล็บทิ้งคราบที่ล้างไม่ออกไว้ แก้ปัญหาโดยการ บีบน้ำมะนาวครึ่งลูกชโลมเล็บ แล้วถูให้ทั่ว จากนั้นแช่เล็บในน้ำนมอุ่นๆ กรดน้ำนมจะช่วยผลัดเซลล์หมองๆ ออกโปรตีนน้ำนมจะซึมลงบำรุงขอบเล็บภายใน 5 นาที ผิวปลายนิ้วจะนุ่มขึ้น คราบเหลืองจางลง และเล็บดูระเรื่ออมชมพูตามธรรมชาติ

แต่งรูปเล็บ
เล็บ ที่ยาวกว่า 1/8 นิ้ว ควรตัดออกก่อนตะไบ ใช้ที่ตัดเล็บตัดปลายเล็บเป็นเส้นตรง ไม่ควรตัดขอบเล็บ อาจมีปัญหาเล็บขบตามมา แต่ให้ใช้ตะไบแปรงเล็บจากด้านข้างออกมาทางปลายเล็บเพื่อแต่งรูปเล็บให้ด้าน เหลี่ยมมนขึ้น ไม่ควรตะไปในลักษณะกลับไปกลับมา จะทำลายผิวเล็บ ให้แปรงไปทางเดียวจนได้รูปเล็บที่ต้องการ จากนั้นใช้ตะไบชัดผิวเล็บ ช่วยขัดผิวหน้าเล็บเพียงเบาๆ ผิวเล็บจะขึ้นเงาอมชมพูดูสุภาพดี

ใต้เล็บ
ใต้ เล็บมักมีคราบสกปรกติดอยู่ หมั่นใช้ก้านสำสีสอดเข้าไปเช็ดออก เล็บจะดูสะอาดตายิ่งขึ้น มือและเล็บที่แห้ง เป็นขุย จะมีคราบสกปรกเกาะติดตามขอบเล็บ จะใช้แปรงสีฟันขัดก็ยังไม่ออก หมั่นลงมอยส์เจอไรเซอร์ให้ผิวชุ่มชื่น ใส่ถุงมือทุกครั้งที่ต้องทำงานสัมผัสกับความสกปรกและความชื้นแฉะ กรณีที่ต้องทำงานสัมผัสคราบสกปรก แต่ไม่สะดวกกับการใส่ถุงมือ ให้ขูดเล็บลงบนผิวสบู่ ให้เนื้อสบู่เกาะตามขอบเล็บ จะช่วยป้องกันไม่ให้คราบสกปรกเข้าไปติดตามขอบในซอกเล็บ ซึ่งจะทำความสะอาดลำบาก

แต่งขอบเล็บ
หลังตะไบเล็บจนได้ รูปตามต้องการแล้ว อาจแต่งแนวพังผืดที่ยึดโคนเล็บด้านใน จะช่วยให้เห็นแนวขอบเล็บได้ชัดเจน ทาเล็บได้สวย เริ่มจาก แช่มือในน้ำอุ่นผสมน้ำมันมะกอกหรือนมสดสัก 2-3 นาที (ควรเลี่ยงการแช่มือในน้ำสบู่เช่นที่ร้านเสริมสวยทำให้กับลูกค้า)จากนั้น ซับมือให้แห้งใช้ผ้าขนหนูชื้นน้ำหรือก้านสำสี ดันขอบพังผืดหรือหนังกำพร้าที่โคนเล็บด้านในให้เข้าไปชิดขอบเล็บ (ไม่ควรตัดหนังเหล่านี้เนื่องจากเป็นส่วนที่ปกป้องเล็บจากเชื้อจุลินทรีย์ ภายนอก)ใช้ตะไบแต่งหน้าเล็บ ขัดผิดพังผืดที่หลุดๆออก

บำรุงมือและเล็บ
หลัง ตัดเล็บแต่ละเล็บ เทครีมขัดผิวกายสักเล็กน้อยขัดมือกับน้ำอุ่น แล้วล้างออก ลงมอยส์เจอไรเซอร์หนาๆ นวดให้ซึมเข้าผิวเนื้อ การดูแลมือและเล็บระหว่างวัน ควรลงมอยส์เจอไรเซอร์ผสมสารกันแดดทุกครั้งที่ล้างมือ ช่วงกลางคืน ก็เ

วิธีดูแลปกป้องรักษาทะนุถนอมเล็บ

เล็บ เป็นสิ่งหนึ่งในร่างกายที่สำคัญ สามารถมองเห็นได้ชัดเจนจากภายนอก 
นอกเหนือจากผิวพรรณ และเส้นผมแล้ว ถือว่าเล็บเป็นอวัยวะที่บ่งบอกความสวยงามอย่างหนึ่ง 
ทุกคนต้องการให้เล็บมีสุขภาพดี ดูสวยและดูดี จึงมีกิจกรรมการเสริมสวยเล็บมากมายในปัจจุบัน 
เช่น ล้างเล็บ เคลือบเล็บ การทาสีเล็บให้เกิดความสวยงาม การเพ้นท์ลวดลายที่เล็บ เป็นต้น 
ลองมาทำความรู้จักกับเล็บของเรากันหน่อยนะครับ 

เล็บเริ่มสร้างตั้งแต่ยังอยู่ในครรภ์มารดา เป็นสิ่งที่ธรรมชาติมอบให้แก่ร่างกายมนุษย์ ประกอบด้วยเซลล์ผิวหนัง ที่ตาย 
และเคอราติน แต่สามารถเพิ่มความยาวได้ตลอดเวลา อัตราการงอกของเล็บจะมีประมาณ 0.1-0.2 มม.ต่อวัน
อาจจะงอกได้ช้าหรือเร็วกว่านี้ได้บ้าง โดยพบว่าอายุประมาณ 15-30 ปี จะเป็นช่วงที่เล็บยาวเร็วที่สุด
โดยจะพบว่าอัตราการงอกของเล็บมือจะยาวเร็วกว่าเล็บเท้าประมาณ 2 เท่า เราจึงต้องตัดเล็บมือบ่อยกว่าเล็บเท้า และ
ปกติคนเราจะนิยมตัดเล็บกัน 1-2 อาทิตย์ต่อครั้ง ลักษณะเล็บปกติ จะมีสีชมพูอ่อนๆ เรียบเสมอกันไม่มีรอยหยัก หรือโค้งงอ

หน้าที่และความสำคัญของเล็บ

1. ไว้หยิบจับสิ่งของที่มีขนาดเล็ก ชิ้นเล็กๆ 
2. ไว้เกา เวลาคัน เพราะถ้าไม่มีเล็บ คุณก็จะเกาได้ไม่สะดวก คงหงุดหงิดพอสมควร 
3. ไว้ฉีกอาหาร หรือสิ่งของบางอย่างให้เป็นชิ้นเล็กๆ 
4. ไว้ป้องกันตัว เช่น ขูด ขีด ข่วน ใบหน้า ( ใช้กรณีจำเป็นจริงๆ นะครับ) 
5. ไว้เกาศีรษะ เวลาสระผม 
6. ช่วยในการเดินหรือวิ่งอย่างมีประสิทธิภาพ บางท่านที่เคยโดนถอดเล็บเท้า จะพบว่าเดินไม่ถนัด 
7. เพื่อความสวยงาม บ่งบอกลักษณะ สุขภาพ รสนิยม บุคลิก ของผู้ที่เป็นเจ้าของเล็บที่สวยงามนั้นได้ 
8. ใช้บอกโรคบางชนิดของอวัยวะภายในต่างๆ ได้ 
9. ใช้แคะขี้มูก ขี้หู และ ขี้ต่างๆ ในร่างกายได้

ปัญหาความผิดปกติของเล็บที่พบบ่อย

1. จมูกเล็บอักเสบ (Paronychiae) มักพบได้บ่อยที่สุด โดยพบในกลุ่มผู้หญิงแม่บ้านที่มือเปียกน้ำบ่อยๆ
และกลุ่มที่ชอบทำเล็บตามร้านเสริมสวย มีการตัดเล็มจมูกเล็บทำให้เกิดช่องว่างในซอกเล็บ แล้วน้ำเข้าไปเซาะขังอยู่ 
ทำให้เกิดการอักเสบภายหลัง โดยจะมีลักษณะของเล็บจะบวมแดงนูนออกมา มีอาการเจ็บปวดอักเสบบางครั้งร่วมกับอาการคัน 
เล็บมักจะปกติดี จมูกเล็บอักเสบเมื่อเกิดแล้ว ไม่ค่อยหายขาด เนื่องจากช่องว่างระหว่างขอบเล็บไม่ปิดสนิทแล้ว 
ส่วนใหญ่มักจะเข้าใจว่าตนเองเป็นเชื้อราที่เล็บ 

2. เล็บเป็นเชื้อรา (Tinea Unguium) พบไม่บ่อยนัก และมักพบในผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ
เช่น โรคเบาหวาน โรคเอดส์ ฯลฯ ลักษณะเล็บจะเปลี่ยนสีไป 
เช่น อาจจะดำคล้ำขึ้น สีเขียวหรือเหลือง ลักษณะเล็บเปลี่ยนรูปร่าง บิดเบี้ยว โค้งงอ แตกเปราะ หรือเป็นขุย 

3. เล็บกร่อน (Onycholysis) ลักษณะเล็บจะผุ กร่อน แตกหัก เปราะง่าย เล็บขยุกขยุย เสียรูปทรง
เป็นลูกคลื่นบ้าง บุ๋มบ้าง โค้งงอ หนาขึ้นบ้าง ฯลฯ สีเล็บจะต่างจากเดิมไปบ้างเล็กน้อย 
ภาวะนี้เกิดขึ้นเองไม่ทราบสาเหตุชัดเจน รักษาแก้ไขได้ยาก การทานวิตามินบำรุงเล็บ เช่น ไบโอติน จะช่วยได้บ้าง 

4. สะเก็ดเงินที่เล็บ (Psoviasis) โรคสะเก็ดเงิน นอกจากจะมีผื่นสะเก็ดหนาที่ศีรษะ ตัวศอก
เข่าแล้ว ยังเกิดความผิดปกติที่เล็บได้ด้วย ลักษณะเล็บหนาขึ้นที่ปลายเล็บมองเห็นได้ (Subungual hyperkeratosis)
เล็บบุ๋ม (Pitting) เล็บเป็นลูกคลื่น (Ridging) รักษาค่อนข้างยาก ไม่หายขาด

อาการของเล็บ บ่งบอกลักษณะโรคบางโรคได้ เช่น

1. โรคหัวใจและโรคปอดเรื้อรัง อาจจะพบลักษณะของเล็บปุ้ม เล็บงุ้มมากผิดปกติ (clubbing finger) เล็บซีดเขียว 
2. โรคไต อาจจะพบลักษณะของเล็บมีสีแตกต่างกัน (half and half nail) คือ ส่วนที่อยู่ชิดโพรงจมูกเล็บจะมีสีขาว
ส่วนอีกครึ่งหนึ่งส่วนปลายเล็บเป็นสีปกติ เกิดจากบริเวณใต้ฐานเล็บมีการบวม 
3. โรคมะเร็งผิวหนังชนิดเมลาโนมา (melanoma) อาจจะทำให้ เล็บเปลี่ยนสี มีจุด สีดำ 
หรือแถบสีดำเกิดขึ้นได้ที่บริเวณเล็บ  เป็นต้น ฯลฯ
วิธีดูแลปกป้องรักษาทะนุถนอมเล็บ
1. อย่าล้างมือบ่อยเกินไป หลังล้างมือแล้ว เช็ดให้แห้ง เป่าลมร้อนช่วยด้วยจะยิ่งทำให้เล็บแห้งได้สนิท 
2. ถ้าจำเป็นต้องล้างจาน ซักผ้า ถูบ้าน ควรใส่ถุงมือเป็นประจำให้เป็นนิสัย 
3. ทาโลชั่นที่บำรุงมือและเล็บโดยเฉพาะ (Hand and nail) อย่างสม่ำเสมอ 
4. พยายามทาสีเล็บให้น้อยลงเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้เล็บได้พักผ่อน หลีกเลี่ยงการเพ้นท์สีเล็บ ที่อาจจะมีสารเคมีทำลายเนื้อเล็บได้ 
5. หลีกเลี่ยงทำเล็บบ่อยๆ ที่ร้านเสริมสวย เพราะช่างมักจะแคะเล็ม ตัดจมูกเล็บให้เสียหาย 
6. ตัดเล็บให้มีขนาดสั้นพอประมาณ เพราะการไว้เล็บยาวเกินไปอาจทำให้เล็บเกิดฉีกขาดได้ง่าย

พี

 

ใส่ความเห็น